วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พูดไม่คิด

บริการต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต

บริการบนอินเทอร์เน็ตมีหลายประเภท เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ซึ่งในที่นี้จะยกตัวอย่างบริการบนอินเทอร์เน็ตที่สำคัญดังนี้

1.บริการด้านการสื่อสาร
1.1 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(electronic mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล์ (E-mail) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมประจำวันของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ซึ่งการส่งและรับจดหมาย หรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลกนี้จำเป็นจะต้องมีที่อยู่อีเมล์ (e-mail address หรือ e-mail account) เพื่อใช้เป็นกล่องรับจดหมาย ที่อยู่ของอีเมล์จะประกอบ ด้วยส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ชื่อผู้ใช้ (User name) และชื่อโดเมน(Domain name) ซึ่งเป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีรายชื่อของผู้ใช้อีเมล์ โดยชื่อผู้ใช้และชื่อโดเมนจะคั่นด้วยเครื่องหมาย @(อ่านว่า แอ็ท) เช่น Sriprai@sukhothai.siamu.ac.th จะมีผู้ใช้อีเมล์ชื่อ Sriprai ที่มีอยู่อีเมล์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ชื่อ sukhothai ของมหาวิทยาลัยสยาม(siamu) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษา (ac) ในประเทศไทย (th)

ในการรับ-ส่งจดหมาย โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั้น ได้มีการพัฒนาโปรแกรมที่ใช้สำหรับอีเมล์อยู่หลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม Microsoft Outlook Express โปรแกรม Netscape Mail เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับที่อยู่อีเมล์ได้ฟรีจากเว็บไซต์ที่ให้บริการที่อยู่อีเมล์ฟรี เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักและนิยม ได้แก่ www.hotmail.com, www.chaiyo.com, www.thaimail.com

โดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบหลัก ๆ ของอีเมล์จะประกอบด้วยส่วนหัว (header) และส่วนข้อความ (message)

1.2 รายชื่อกลุ่มสนทนา (mailing lists)
mailing lists เป็นกลุ่มสนทนาประเภทหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่มีการติดต่อสื่อสารและการส่งข่าวสารให้กับสมาชิกตามรายชื่อและที่อยู่ของสมาชิกที่มีอยู่ ในรายการซึ่งในปัจจุบันมีกลุ่ม mailing lists ที่แตกต่างกันตามความสนใจจำนวนมาก การเข้าไปมีส่วนร่วมในกลุ่มสนทนาประเภทนี้ ผู้ใช้จะต้อง สมัครสมาชิกก่อนด้วยการแจ้งความประสงค์และส่งชื่อและที่อยู่เพื่อการลงทะเบียบไปยัง subscription address ของ mailing lists ตัวอย่าง mailing list เช่น ทัวร์ออนไลน์ (tourbus@listserv.aol.com)กลุ่มสนทนาเรื่องตลก (dailyjoke@lists.ivllage.com)

1.3 กระดานข่าว (usenet)
ยูสเน็ต (usenet หรือ user network) เป็นการรวบรวมของกลุ่มข่าวหรือ newsgroup ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนใจที่ต้องการจะติดต่อและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตคนอื่น ๆ กลุ่มของ newsgroup ในปัจจุบันมีมากกว่า 10,000 กลุ่มที่มีความสนใจในหัวข้อที่แตกต่างกัน เช่น กลุ่มผู้สนใจศิลปะ กลุ่มคอมพิวเตอร์ กลุ่มผู้ชื่นชอบภาพยนต์ เป็นต้น

การส่งและรับแหล่งข่าวจาก usenet จะใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข่าวเพื่อไปดึงชื่อของกลุ่มข่าวหรือหัวข้อจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้เข้าไปขอใช้บริการ

เช่นเดียวกับระบบชื่อโดเมน (DNS) กลุ่มข่าวจะมีการตั้งชื่อเพื่อใช้เป็นแบบมาตรฐาน ซึ่งชื่อกลุ่มจะประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก ๆ คือ ชื่อหัวข้อกลุ่มข่าวหลัก (major topic) ชื่อกลุ่มข่าวย่อย (subtopic) และประเภทของกลุ่มข่าวย่อย (division of subtopic) ตัวอย่างเช่น


1.4 การสนทนาออนไลน์(On-line chat)
การสนทนาออนไลน์ เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่น ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (real-time) การสนทนาหรือ chat (Internet Relay Chat หรือ IRC)ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคลหรือ กลุ่มบุคคลสามารถใช้
ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย

การใช้งาน IRC ผู้ใช้จะต้องติดต่อไปยังเครื่องที่เป็นไออาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (IRC server) ที่มีการแบ่งห้องสนทนาเป็นกลุ่ม ๆ ที่เรียกว่า แชนแนล (channel) โดยผู้ใช้จะต้องมีโปรแกรมเพื่อใช้สำหรับการสนทนา (ซึ่งสามารถดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต) เมื่อผู้ใช้ติดต่อกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้แล้ว ก็จะเลือกกลุ่มสนทนาหรือหัวข้อสนทนาที่สนใจ และเริ่มสนทนาได้ตามความต้องการ ตัวอย่าง โปรแกรมสนทนาออนไลน์ที่นิยมใช้กัน ในปัจจุบัน เช่น ICQ(I Seek You) และ mIRC

การสนทนาผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันผู้ใช้สามารถใช้สื่อประสม (multimedia) ประกอบด้วย เสียงพูด และภาพเคลื่อนไหว โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ไมโครโฟน ลำโพง กล้องวีดีโอ และอื่น ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเพื่อประสิทธิภาพของการสนทนา ให้ดียิ่งขึ้น ในส่วนของโปรแกรม ได้มีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อการสนทนาออนไลน์ที่มีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Microsoft NetMeeting ที่สามารถสนทนากันไปพร้อม ๆ กับมองเห็นภาพของคู่สนทนาได้ด้วย

1.5 เทลเน็ต (telnet)
เทลเน็ตเป็นบริการที่ให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ ให้เป็นจอภาพ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกลเครื่องนั้น การทำงานในลักษณะนี้ จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในกรณีที่ต้องเดินทางไปใช้งาน เครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การใช้งานเทลเน็ตจะเป็นการแสดงข้อความตัวอักษร (text mode) โดยปกติการเข้าไปใช้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะไกล จำเป็นต้องมีรายชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน แต่ก็มีบางหน่วยงานที่อนุญาติให้เข้าใช้บริการโดยไม่ต้องระบุรหัสผ่านเพื่อ เป็นการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้าทั่ว ๆ ไป


2.บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ
2.1 การขนถ่ายไฟล์(file transfer protocol)
การขนถ่ายไฟล์ หรือที่เรียกสั้น ๆว่า เอฟทีพี (FTP) เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการไฟล์จะเรียกว่า เอฟทีพีเซิร์ฟเวอร์ (FTP sever หรือ FTP site)

ข้อมูลที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะมีลักษณะหลายรูปแบบ ได้แก่ ข้อมูลสถิติ งานวิจัย บทความ เพลง ข่าวสารทั่วไป หรือโปรแกรมฟรีแวร์ (freeware) ที่สามารถดาวน์โหลดและใช้โปรแกรมฟรี

ในบางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จะให้บริการเฉพาะบุคคลที่มีบัญชีรายชื่ออยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ก้ฒีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการขนถ่ายไฟล์จำนวนมากอนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไปได้เข้าไปใช้บริการ ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะไม่อนุญาต ให้ขนถ่ายไฟล์ทั้งหมดก็ตาม

2.2 โกเฟอร์ (gopher)
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ให้บริการข้อมูลในลักษณะของการค้นหาจากเมนู(menu-based search) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการข้อมูล โปรแกรมโกเฟอร์พัฒนาโดยมหาวิทยาลัย Minnesota ในปี ค.ศ. 1991 เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการฐานข้อมูลจะเป็นลักษณะของเมนูลำดับชั้น (hierarchy) เพื่อเชื่อมโยงไปยังแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ที่กระจายกันอยู่หลายแหล่งได้


2.3 อาร์ซี (archie)
อาร์ซี เป็นการเข้าใช้บริการค้นหาข้อมูลจากเครื่องแม่ข่ายที่เป็นอาร์ซีเซิร์ฟเวอร์ (archie sever ) ซึ่งเป็นแหล่งที่ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาสถานที่ของข้อมูล จากนั้นก็จะไปค้นข้อมูลโดยตรงจากสถานที่นั้นต่อไป

2.4 WAIS (Wide Area Information Severs)
WAIS เป็นบริการค้นหาข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่ได้รวบรวมข้อมูลและดรรชนีสำหรับสืบค้นข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้เพื่อสามารถเข้าไปยังข้อมูลที่ต้องการและสามารถเชื่อมโยงไปยังศูนย์ข้อมูล WAIS อื่นๆ ได้ด้วย

2.5 veronica
veronica ย่อมาจาก very easy rodent-oriented net-wide index to computerized archives เป็นบริการที่รวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยอำนวย ความสะดวกในการค้นหาสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว

2.6 การค้นหาข้อมูลโดยใช้เว็บเบราเซอร์
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายใยแมงมุมที่มีการเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก การค้นหาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ถ้าผู้ใช้ไม่ทราบที่อยู่ของเว็บไซต์ ก็สามารถค้นหาแหล่งข้อมูลโดยใช้บริการค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้วปัจจุบันการค้นหาข้อมูลที่ต้องการเป็นเรื่อง ที่กระทำได้สะดวกและรวดเร็ว การพัฒนาเว็บไซต์ที่ช่วยสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เรียกว่า เครื่องค้นหา (search engine) ช่วยให้การค้นหาทั้งในรูปของ ข้อความและกราฟิกกระทำได้โดยง่าย เว็บไซต์ที่ช่วยสำหรับการสืบค้นข้อมูลที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ yahoo.com, altavista.com, lycos.com, excite.com, ask.com, infoseek.ccom

แหล่งที่มา : http://www.dek-d.com/board/view.php?id=926874
http://pirun.ku.ac.th/~b5011172/Page_5.html

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การสอนเด็กบกพร่องทางการได้ยิน

การให้การศึกษาแก่เด็กที่บกพร่องทางการได้ยินเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นมากเพื่อช่วยให้เด็กเหล่านั้นได้พัฒนาตนเองตามกำลังความสามารถของตน การศึกษายังเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เขาได้พัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีอาชีพที่จะช่วยให้มีรายได้เลี้ยงตัวเอง ดังนั้นการศึกษาพิเศษจึงเห็นความสำคัญที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กบกพร่องทางการได้ยิน หลายวิธีดังนี้ คือ

1. วิธีสอนแบบใช้ภาษามือแทนสัญลักษณ์ และแทนความหมายของภาษา (Manual Method)

2. วิธีสอนพูดด้วยภาษาพูด (Oral Method)


การเปรียบเทียบข้อเสียในการสอนทั้งสองวิธี

ข้อเสียของการสอนด้วยภาษามือ

- มีคนจำนวนน้อยที่เข้าใจภาษามือ ทำให้เด็กหูหนวกติดต่อกับเพื่อนหูดีไม่ได้ถ้าใช้ภาษามือ

- ทำให้ไม่เข้าใจภาษาพูดของคนปกติ

- ภาษามือเป็นภาษาโดด ไม่มีระเบียบของถ้อยคำ เวลานำมาแต่งประโยคมักจะเขียนกลับหน้ากลับหลัง

- ไม่มีวิธีใดที่เรียนพูดได้ดีเท่าภาษาพูด ทำให้เข้าใจภาษาพูดของคนปกติได้


ข้อเสียของการสอนภาษาพูด

- ใช้เวลามาก และสอนยาก

- เด็กหูหนวกพูดฟังยาก ไม่ชัดเจน พูดผิดๆ ถูกๆ

- การสอนพูดต้องจัดเด็กเรียนจำนวนน้อย 5-8 คน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก

- การสื่อความหมายยังต้องใช้ภาษามือ

ไม่ว่าจะสอนโดยวิธีใดหรือจัดการศึกษาระบบใดก็ตาม ความสมบูรณ์และความถูกต้องไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่หากอยู่ที่การเลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับความพิการของเด็กแต่ละประเภทว่าเด็กหูหนวกขนาดไหน ควรใช้วิธีสอนประเภทใด จึงจะให้ประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทฤษฎีการให้การศึกษาที่ดีนั้นจะต้องยึดหลักว่า "จัดระบบให้เหมาะสมกับเด็ก ไม่ใช่ยัดเยียดหรือบังคับเด็กให้เรียนตามระบบที่จัดให้เท่านั้น"


ประเภทวิธีการสอน 5 วิธี

1. วิธีสอนพูด (Oral Method) วิธีการสอนพูดให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนี้ยึดหลักที่ว่าให้ผู้สอนพูดกับเด็กให้มากที่สุดให้เด็กเห็นความสำคัญของการพูด ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการพูดได้แก่ การดู คือ โดยการอ่านจากริมฝีปากของผู้พูดด้วยเป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องเตรียมในการสอน

1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องขยายเสียงทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องขยายเสียงทำงานปกติ

2. ตรวจสอบเครื่องช่วยฟังส่วนบุคคลของเด็กทุกคนตลอดเวลาการสอน

3. ครูประจำชั้นควรมีความรู้เกี่ยวกับระดับการได้ยินของเด็กทุกคนที่ตนทำการสอน

4. ให้พูดเสียงดังพอเหมาะกับการได้ยินของเด็ก เช่น ครูควรใช้ไมโครโฟนให้ห่างจากปากครูในระยะ 6-8 นิ้ว ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนของการรับฟังเสียงของครู

5. ครูต้องระวังและแนะนำให้เด็กพูดลงในไมโครโฟนของเด็กด้วย ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนเช่นกัน

6. ครูควรพูด และใช้จังหวะการพูดตามปกติ พูดเป็นวลี หรือประโยคไม่ควรเน้นเสียงหรือพูดช้าเกินไป

7. ครูไม่ควรปล่อยให้เด็กพูดผิด ๆ โดยไม่แก้ไข ทั้งนี้เพื่อประสานงานกับครูสอนพูดโดยเฉพาะ

8. เมื่อเด็กเข้าใจความหมายของภาษาพูดแล้ว ควรฝึกให้เด็กพูดตามครู หัดพูดตามฐานที่เกิดของเสียง 6 ฐาน เริ่มจากง่ายไปหายาก ตามลำดับ จนกว่าจะพูดได้ชัด

9. การสอนพูดเริ่มสอนที่ละคำ สอนคำใหม่คู่กับคำเก่าที่เพิ่งเรียนไปและให้จำแนกเสียงของพยัญชนะ หรือสระ



2. วิธีสอนแบบรวม (Combined Method)หมายถึงวิธีสอนที่ใช้การพูด ภาษามือ การอ่านริมฝีปาก การใช้เครื่องช่วยฟัง การเขียน กระดานดำประกอบกันไปในขณะที่สอน มีสิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะดังนี้ คือ

2.1 ภาษามือ และการสะกดด้วยนิ้วมือต้องแม่นยำพร้อมกับพูดให้นักเรียนได้อ่านปากเรียนแบบกทุกครั้ง ครูทุกคนต้องมีภาษามือแบบเดียวกันโดยตลอด เพื่อป้องกันการไขว้เขว งดการเดาสุ่มโดยเด็ดขาด

2.2 ขณะที่พูดควรให้นักเรียนเห็นปากผู้พูดโดยชัดเจนให้สายตาของนักเรียนอยู่ระดับปากผู้พูดและไม่เบือนหน้าหนีขณะพูด

2.3 มีแสงสว่างพอให้มองเห็นมือและปากได้ชัดเจน

2.4 เวลาพูดต้องไม่ตะโกนหรือเน้นพยางค์

2.5 คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนและอ่านต่างกันไปเช่น พ่อ แม่ บิดา มิตร ต้องให้เข้าใจความหมาย

2.6 ภาษามือ การสะกดด้วยนิ้วมือ และการสอนอ่านริมฝีปากต้องให้เห็น ได้ดู ได้จับต้อง



3. การใช้วิธีสอนต่างวิธีพร้อมกันสลับกันไป (Simultaneous Method)คือการใช้การพูด มือสะกด หรือภาษามือ การใช้เครื่องช่วยฟัง และการเขียนกระดานดำ การสะกดด้วยนิ้วมือเป็นการสื่อความหมายทางภาษาอย่างหนึ่ง โดยมีการกำหนดตำแหน่งของนิ้วมือแทนตัวอักษะที่มีอยู่ในภาษาเขียนนามธรรม ทั้งสระพยัญชนะ และวรรณยุกต์ เช่น

การสะกดด้วยนิ้วมือช่วยให้คนหูหนวกมีภาษากว้างขวางขึ้น เพราะคำต่างๆ ที่มีในภาษามือของคำต่างๆ ในภาษาให้อย่างนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะการเรียกชื่อคนและสิ่งของ

ภาษามือ (Manual Language หรือ Sign Language)

ภาษามือ คือ ภาษาสำหรับคนหูหนวก ใช้มือเป็นการสื่อความหมาย และถ่ายทอดอารมณ์แทนการพูด โดยแสดงสีหน้า และกิริยาท่าทางประกอบ คนหูหนวกส่วนใหญ่ใช้ภาษามือสื่อความหมายแทนคำพูด เป็นภาษาที่ได้ตกลง และรับรองว่าเป็นภาษามาตรฐานสำหรับคนหูหนวกได้
การสะกดด้วยนิ้วมือต้องทำให้เรียบร้อยน่ามอง ทำให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดไม่ทำเร็วจนเกินไป การสะกดด้วยนิ้วมือต้องคล่องและแม่นยำที่สุด
ภาษามือจะช่วยขยายความเข้าใจในการสอนคำที่ออกเสียงตามวรรณยุกต์ เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ ถ้าใช้ภามือกำกับแล้ว จะช่วยให้การทำความเข้าใจได้รวดเร็วขึ้น เพราะถ้าอ่านจากริมฝีปากอย่างเดียวจะเข้าใจได้ช้า ภาษามือทำได้ไม่ยาก แต่จะต้องมีแบบที่ยอมรับถ้าทำท่านั้นๆ จะต้องมีความหมายที่เข้าใจตรงกัน การทำภาษามือต้องทำให้เป็นธรรมชาติ แสดงอาการปกติเหมือนพูดธรรมดา ต้องมีจังหวะมีการเว้นระยะวรรคตอนไม่ทำเร็วหรือช้าเกินไป และต้องให้ชัดเจน

4. วิธีสอนแบบรวมหลายวิธี (Combined System) คือการสอนที่ใช้การสอนพูด การใช้เครื่องช่วยฟัง ภาษามือ การสะกดด้วยนิ้วมือ และการเขียนกระดานดำ โดยใช้การสอนพูดสลับกับการสอนด้วยภาษามือ สะกดด้วยนิ้วมือ และการเขียนกระดานดำ

5. วิธีสอนแบบระบบรวม (Total Communication)คือการสอน

- ฝึกการฟัง (Auditory Training)

- ฝึกการอ่านคำพูด (Speech Reading)

- ฝึกการเขียน (Writing)

- ภาษามือ (Signs Language)

- การสะกดนิ้วมือ (Finger Spelling)

- การสังเกตท่าทาง (Gestures)

วิธีสอนนี้เป็นวิธีสอนโดยการรวมเอาวิธีการติดต่อสื่อความหมายทุกประเภทเข้ามารวมไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันที่จะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับบุคคลอื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี

การสอนเด็กหูหนวกไม่ใช่สอนได้ง่าย ครูจำเป็นต้องเข้าใจจิตใจ และอารมณ์เด็กประเภทนี้ให้ได้ว่า เป็นเด็กที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง และการปรับตัวไม่ดีเหมือนเด็กทั่วไป

การสอนเด็กบกพร่องทางการได้ยิน

การสอนเด็กบกพร่องทางการได้ยิน

การให้การศึกษาแก่เด็กที่บกพร่องทางการได้ยินเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นมากเพื่อช่วยให้เด็กเหล่านั้นได้พัฒนาตนเองตามกำลังความสามารถของตน การศึกษายังเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เขาได้พัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีอาชีพที่จะช่วยให้มีรายได้เลี้ยงตัวเอง ดังนั้นการศึกษาพิเศษจึงเห็นความสำคัญที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กบกพร่องทางการได้ยิน หลายวิธีดังนี้ คือ

1. วิธีสอนแบบใช้ภาษามือแทนสัญลักษณ์ และแทนความหมายของภาษา (Manual Method)

2. วิธีสอนพูดด้วยภาษาพูด (Oral Method)


เปรียบเทียบข้อเสียในการสอนทั้งสองวิธีี

ข้อเสียของการสอนด้วยภาษามือ
ข้อเสียของการสอนภาษาพูด

- มีคนจำนวนน้อยที่เข้าใจภาษามือ ทำให้เด็กหูหนวกติดต่อกับเพื่อนหูดีไม่ได้ถ้าใช้ภาษามือ

- ทำให้ไม่เข้าใจภาษาพูดของคนปกต

ิ- ภาษามือเป็นภาษาโดด ไม่มีระเบียบของถ้อยคำ เวลานำมาแต่งประโยคมักจะเขียนกลับหน้ากลับหลัง

- ไม่มีวิธีใดที่เรียนพูดได้ดีเท่าภาษาพูด ทำให้เข้าใจภาษาพูดของคนปกติได้
- ใช้เวลามาก และสอนยาก

- เด็กหูหนวกพูดฟังยาก ไม่ชัดเจน พูดผิดๆ ถูกๆ

- การสอนพูดต้องจัดเด็กเรียนจำนวนน้อย 5-8 คน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก

- การสื่อความหมายยังต้องใช้ภาษามือ




ไม่ว่าจะสอนโดยวิธีใดหรือจัดการศึกษาระบบใดก็ตาม ความสมบูรณ์และความถูกต้องไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่หากอยู่ที่การเลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับความพิการของเด็กแต่ละประเภทว่าเด็กหูหนวกขนาดไหน ควรใช้วิธีสอนประเภทใด จึงจะให้ประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทฤษฎีการให้การศึกษาที่ดีนั้นจะต้องยึดหลักว่า "จัดระบบให้เหมาะสมกับเด็ก ไม่ใช่ยัดเยียดหรือบังคับเด็กให้เรียนตามระบบที่จัดให้เท่านั้น"



ประเภทวิธีการสอน 5 วิธี

1. วิธีสอนพูด (Oral Method) วิธีการสอนพูดให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนี้ยึดหลักที่ว่าให้ผู้สอนพูดกับเด็กให้มากที่สุดให้เด็กเห็นความสำคัญของการพูด ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการพูดได้แก่ การดู คือ โดยการอ่านจากริมฝีปากของผู้พูดด้วยเป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องเตรียมในการสอน

1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องขยายเสียงทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องขยายเสียงทำงานปกติ

2. ตรวจสอบเครื่องช่วยฟังส่วนบุคคลของเด็กทุกคนตลอดเวลาการสอน

3. ครูประจำชั้นควรมีความรู้เกี่ยวกับระดับการได้ยินของเด็กทุกคนที่ตนทำการสอน

4. ให้พูดเสียงดังพอเหมาะกับการได้ยินของเด็ก เช่น ครูควรใช้ไมโครโฟนให้ห่างจากปากครูในระยะ 6-8 นิ้ว ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนของการรับฟังเสียงของครู

5. ครูต้องระวังและแนะนำให้เด็กพูดลงในไมโครโฟนของเด็กด้วย ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนเช่นกัน

6. ครูควรพูด และใช้จังหวะการพูดตามปกติ พูดเป็นวลี หรือประโยคไม่ควรเน้นเสียงหรือพูดช้าเกินไป

7. ครูไม่ควรปล่อยให้เด็กพูดผิด ๆ โดยไม่แก้ไข ทั้งนี้เพื่อประสานงานกับครูสอนพูดโดยเฉพาะ

8. เมื่อเด็กเข้าใจความหมายของภาษาพูดแล้ว ควรฝึกให้เด็กพูดตามครู หัดพูดตามฐานที่เกิดของเสียง 6 ฐาน เริ่มจากง่ายไปหายาก ตามลำดับ จนกว่าจะพูดได้ชัด

9. การสอนพูดเริ่มสอนที่ละคำ สอนคำใหม่คู่กับคำเก่าที่เพิ่งเรียนไปและให้จำแนกเสียงของพยัญชนะ หรือสระ



2. วิธีสอนแบบรวม (Combined Method)

หมายถึงวิธีสอนที่ใช้การพูด ภาษามือ การอ่านริมฝีปาก การใช้เครื่องช่วยฟัง การเขียน กระดานดำประกอบกันไปในขณะที่สอน มีสิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะดังนี้ คือ

2.1 ภาษามือ และการสะกดด้วยนิ้วมือต้องแม่นยำพร้อมกับพูดให้นักเรียนได้อ่านปากเรียนแบบกทุกครั้ง ครูทุกคนต้องมีภาษามือแบบเดียวกันโดยตลอด เพื่อป้องกันการไขว้เขว งดการเดาสุ่มโดยเด็ดขาด

2.2 ขณะที่พูดควรให้นักเรียนเห็นปากผู้พูดโดยชัดเจนให้สายตาของนักเรียนอยู่ระดับปากผู้พูดและไม่เบือนหน้าหนีขณะพูด

2.3 มีแสงสว่างพอให้มองเห็นมือและปากได้ชัดเจน

2.4 เวลาพูดต้องไม่ตะโกนหรือเน้นพยางค์

2.5 คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนและอ่านต่างกันไปเช่น พ่อ แม่ บิดา มิตร ต้องให้เข้าใจความหมาย

2.6 ภาษามือ การสะกดด้วยนิ้วมือ และการสอนอ่านริมฝีปากต้องให้เห็น ได้ดู ได้จับต้อง



3. การใช้วิธีสอนต่างวิธีพร้อมกันสลับกันไป (Simultaneous Method)

คือการใช้การพูด มือสะกด หรือภาษามือ การใช้เครื่องช่วยฟัง และการเขียนกระดานดำ การสะกดด้วยนิ้วมือเป็นการสื่อความหมายทางภาษาอย่างหนึ่ง โดยมีการกำหนดตำแหน่งของนิ้วมือแทนตัวอักษะที่มีอยู่ในภาษาเขียนนามธรรม ทั้งสระพยัญชนะ และวรรณยุกต์ เช่น

การสะกดด้วยนิ้วมือช่วยให้คนหูหนวกมีภาษากว้างขวางขึ้น เพราะคำต่างๆ ที่มีในภาษามือของคำต่างๆ ในภาษาให้อย่างนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะการเรียกชื่อคนและสิ่งของ

แบบสะกดนิ้วมือของคนหูหนวกในประเทศไทย




ภาษามือ (Manual Language หรือ Sign Language)



ภาษามือ คือ ภาษาสำหรับคนหูหนวก ใช้มือเป็นการสื่อความหมาย และถ่ายทอดอารมณ์แทนการพูด โดยแสดงสีหน้า และกิริยาท่าทางประกอบ คนหูหนวกส่วนใหญ่ใช้ภาษามือสื่อความหมายแทนคำพูด เป็นภาษาที่ได้ตกลง และรับรองว่าเป็นภาษามาตรฐานสำหรับคนหูหนวกได้ ตัวอย่างเช่น






การสะกดด้วยนิ้วมือต้องทำให้เรียบร้อยน่ามอง ทำให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดไม่ทำเร็วจนเกินไป การสะกดด้วยนิ้วมือต้องคล่องและแม่นยำที่สุด

ภาษามือจะช่วยขยายความเข้าใจในการสอนคำที่ออกเสียงตามวรรณยุกต์ เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ ถ้าใช้ภามือกำกับแล้ว จะช่วยให้การทำความเข้าใจได้รวดเร็วขึ้น เพราะถ้าอ่านจากริมฝีปากอย่างเดียวจะเข้าใจได้ช้า ภาษามือทำได้ไม่ยาก แต่จะต้องมีแบบที่ยอมรับถ้าทำท่านั้นๆ จะต้องมีความหมายที่เข้าใจตรงกัน การทำภาษามือต้องทำให้เป็นธรรมชาติ แสดงอาการปกติเหมือนพูดธรรมดา ต้องมีจังหวะมีการเว้นระยะวรรคตอนไม่ทำเร็วหรือช้าเกินไป และต้องให้ชัดเจน

4. วิธีสอนแบบรวมหลายวิธี (Combined System) คือการสอนที่ใช้การสอนพูด การใช้เครื่องช่วยฟัง ภาษามือ การสะกดด้วยนิ้วมือ และการเขียนกระดานดำ โดยใช้การสอนพูดสลับกับการสอนด้วยภาษามือ สะกดด้วยนิ้วมือ และการเขียนกระดานดำ

5. วิธีสอนแบบระบบรวม (Total Communication)คือการสอน

- ฝึกการฟัง (Auditory Training)

- ฝึกการอ่านคำพูด (Speech Reading)

- ฝึกการเขียน (Writing)

- ภาษามือ (Signs Language)

- การสะกดนิ้วมือ (Finger Spelling)

- การสังเกตท่าทาง (Gestures)



วิธีสอนนี้เป็นวิธีสอนโดยการรวมเอาวิธีการติดต่อสื่อความหมายทุกประเภทเข้ามารวมไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันที่จะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับบุคคลอื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี

การสอนเด็กหูหนวกไม่ใช่สอนได้ง่าย ครูจำเป็นต้องเข้าใจจิตใจ และอารมณ์เด็กประเภทนี้ให้ได้ว่า เป็นเด็กที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง และการปรับตัวไม่ดีเหมือนเด็กทั่วไป