วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

การสอนเด็กบกพร่องทางการได้ยิน

การให้การศึกษาแก่เด็กที่บกพร่องทางการได้ยินเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นมากเพื่อช่วยให้เด็กเหล่านั้นได้พัฒนาตนเองตามกำลังความสามารถของตน การศึกษายังเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เขาได้พัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีอาชีพที่จะช่วยให้มีรายได้เลี้ยงตัวเอง ดังนั้นการศึกษาพิเศษจึงเห็นความสำคัญที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กบกพร่องทางการได้ยิน หลายวิธีดังนี้ คือ

1. วิธีสอนแบบใช้ภาษามือแทนสัญลักษณ์ และแทนความหมายของภาษา (Manual Method)

2. วิธีสอนพูดด้วยภาษาพูด (Oral Method)


การเปรียบเทียบข้อเสียในการสอนทั้งสองวิธี

ข้อเสียของการสอนด้วยภาษามือ

- มีคนจำนวนน้อยที่เข้าใจภาษามือ ทำให้เด็กหูหนวกติดต่อกับเพื่อนหูดีไม่ได้ถ้าใช้ภาษามือ

- ทำให้ไม่เข้าใจภาษาพูดของคนปกติ

- ภาษามือเป็นภาษาโดด ไม่มีระเบียบของถ้อยคำ เวลานำมาแต่งประโยคมักจะเขียนกลับหน้ากลับหลัง

- ไม่มีวิธีใดที่เรียนพูดได้ดีเท่าภาษาพูด ทำให้เข้าใจภาษาพูดของคนปกติได้


ข้อเสียของการสอนภาษาพูด

- ใช้เวลามาก และสอนยาก

- เด็กหูหนวกพูดฟังยาก ไม่ชัดเจน พูดผิดๆ ถูกๆ

- การสอนพูดต้องจัดเด็กเรียนจำนวนน้อย 5-8 คน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก

- การสื่อความหมายยังต้องใช้ภาษามือ

ไม่ว่าจะสอนโดยวิธีใดหรือจัดการศึกษาระบบใดก็ตาม ความสมบูรณ์และความถูกต้องไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่หากอยู่ที่การเลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับความพิการของเด็กแต่ละประเภทว่าเด็กหูหนวกขนาดไหน ควรใช้วิธีสอนประเภทใด จึงจะให้ประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทฤษฎีการให้การศึกษาที่ดีนั้นจะต้องยึดหลักว่า "จัดระบบให้เหมาะสมกับเด็ก ไม่ใช่ยัดเยียดหรือบังคับเด็กให้เรียนตามระบบที่จัดให้เท่านั้น"


ประเภทวิธีการสอน 5 วิธี

1. วิธีสอนพูด (Oral Method) วิธีการสอนพูดให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนี้ยึดหลักที่ว่าให้ผู้สอนพูดกับเด็กให้มากที่สุดให้เด็กเห็นความสำคัญของการพูด ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการพูดได้แก่ การดู คือ โดยการอ่านจากริมฝีปากของผู้พูดด้วยเป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องเตรียมในการสอน

1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องขยายเสียงทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องขยายเสียงทำงานปกติ

2. ตรวจสอบเครื่องช่วยฟังส่วนบุคคลของเด็กทุกคนตลอดเวลาการสอน

3. ครูประจำชั้นควรมีความรู้เกี่ยวกับระดับการได้ยินของเด็กทุกคนที่ตนทำการสอน

4. ให้พูดเสียงดังพอเหมาะกับการได้ยินของเด็ก เช่น ครูควรใช้ไมโครโฟนให้ห่างจากปากครูในระยะ 6-8 นิ้ว ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนของการรับฟังเสียงของครู

5. ครูต้องระวังและแนะนำให้เด็กพูดลงในไมโครโฟนของเด็กด้วย ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนเช่นกัน

6. ครูควรพูด และใช้จังหวะการพูดตามปกติ พูดเป็นวลี หรือประโยคไม่ควรเน้นเสียงหรือพูดช้าเกินไป

7. ครูไม่ควรปล่อยให้เด็กพูดผิด ๆ โดยไม่แก้ไข ทั้งนี้เพื่อประสานงานกับครูสอนพูดโดยเฉพาะ

8. เมื่อเด็กเข้าใจความหมายของภาษาพูดแล้ว ควรฝึกให้เด็กพูดตามครู หัดพูดตามฐานที่เกิดของเสียง 6 ฐาน เริ่มจากง่ายไปหายาก ตามลำดับ จนกว่าจะพูดได้ชัด

9. การสอนพูดเริ่มสอนที่ละคำ สอนคำใหม่คู่กับคำเก่าที่เพิ่งเรียนไปและให้จำแนกเสียงของพยัญชนะ หรือสระ



2. วิธีสอนแบบรวม (Combined Method)หมายถึงวิธีสอนที่ใช้การพูด ภาษามือ การอ่านริมฝีปาก การใช้เครื่องช่วยฟัง การเขียน กระดานดำประกอบกันไปในขณะที่สอน มีสิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะดังนี้ คือ

2.1 ภาษามือ และการสะกดด้วยนิ้วมือต้องแม่นยำพร้อมกับพูดให้นักเรียนได้อ่านปากเรียนแบบกทุกครั้ง ครูทุกคนต้องมีภาษามือแบบเดียวกันโดยตลอด เพื่อป้องกันการไขว้เขว งดการเดาสุ่มโดยเด็ดขาด

2.2 ขณะที่พูดควรให้นักเรียนเห็นปากผู้พูดโดยชัดเจนให้สายตาของนักเรียนอยู่ระดับปากผู้พูดและไม่เบือนหน้าหนีขณะพูด

2.3 มีแสงสว่างพอให้มองเห็นมือและปากได้ชัดเจน

2.4 เวลาพูดต้องไม่ตะโกนหรือเน้นพยางค์

2.5 คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนและอ่านต่างกันไปเช่น พ่อ แม่ บิดา มิตร ต้องให้เข้าใจความหมาย

2.6 ภาษามือ การสะกดด้วยนิ้วมือ และการสอนอ่านริมฝีปากต้องให้เห็น ได้ดู ได้จับต้อง



3. การใช้วิธีสอนต่างวิธีพร้อมกันสลับกันไป (Simultaneous Method)คือการใช้การพูด มือสะกด หรือภาษามือ การใช้เครื่องช่วยฟัง และการเขียนกระดานดำ การสะกดด้วยนิ้วมือเป็นการสื่อความหมายทางภาษาอย่างหนึ่ง โดยมีการกำหนดตำแหน่งของนิ้วมือแทนตัวอักษะที่มีอยู่ในภาษาเขียนนามธรรม ทั้งสระพยัญชนะ และวรรณยุกต์ เช่น

การสะกดด้วยนิ้วมือช่วยให้คนหูหนวกมีภาษากว้างขวางขึ้น เพราะคำต่างๆ ที่มีในภาษามือของคำต่างๆ ในภาษาให้อย่างนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะการเรียกชื่อคนและสิ่งของ

ภาษามือ (Manual Language หรือ Sign Language)

ภาษามือ คือ ภาษาสำหรับคนหูหนวก ใช้มือเป็นการสื่อความหมาย และถ่ายทอดอารมณ์แทนการพูด โดยแสดงสีหน้า และกิริยาท่าทางประกอบ คนหูหนวกส่วนใหญ่ใช้ภาษามือสื่อความหมายแทนคำพูด เป็นภาษาที่ได้ตกลง และรับรองว่าเป็นภาษามาตรฐานสำหรับคนหูหนวกได้
การสะกดด้วยนิ้วมือต้องทำให้เรียบร้อยน่ามอง ทำให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดไม่ทำเร็วจนเกินไป การสะกดด้วยนิ้วมือต้องคล่องและแม่นยำที่สุด
ภาษามือจะช่วยขยายความเข้าใจในการสอนคำที่ออกเสียงตามวรรณยุกต์ เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ ถ้าใช้ภามือกำกับแล้ว จะช่วยให้การทำความเข้าใจได้รวดเร็วขึ้น เพราะถ้าอ่านจากริมฝีปากอย่างเดียวจะเข้าใจได้ช้า ภาษามือทำได้ไม่ยาก แต่จะต้องมีแบบที่ยอมรับถ้าทำท่านั้นๆ จะต้องมีความหมายที่เข้าใจตรงกัน การทำภาษามือต้องทำให้เป็นธรรมชาติ แสดงอาการปกติเหมือนพูดธรรมดา ต้องมีจังหวะมีการเว้นระยะวรรคตอนไม่ทำเร็วหรือช้าเกินไป และต้องให้ชัดเจน

4. วิธีสอนแบบรวมหลายวิธี (Combined System) คือการสอนที่ใช้การสอนพูด การใช้เครื่องช่วยฟัง ภาษามือ การสะกดด้วยนิ้วมือ และการเขียนกระดานดำ โดยใช้การสอนพูดสลับกับการสอนด้วยภาษามือ สะกดด้วยนิ้วมือ และการเขียนกระดานดำ

5. วิธีสอนแบบระบบรวม (Total Communication)คือการสอน

- ฝึกการฟัง (Auditory Training)

- ฝึกการอ่านคำพูด (Speech Reading)

- ฝึกการเขียน (Writing)

- ภาษามือ (Signs Language)

- การสะกดนิ้วมือ (Finger Spelling)

- การสังเกตท่าทาง (Gestures)

วิธีสอนนี้เป็นวิธีสอนโดยการรวมเอาวิธีการติดต่อสื่อความหมายทุกประเภทเข้ามารวมไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันที่จะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับบุคคลอื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี

การสอนเด็กหูหนวกไม่ใช่สอนได้ง่าย ครูจำเป็นต้องเข้าใจจิตใจ และอารมณ์เด็กประเภทนี้ให้ได้ว่า เป็นเด็กที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง และการปรับตัวไม่ดีเหมือนเด็กทั่วไป

การสอนเด็กบกพร่องทางการได้ยิน

การสอนเด็กบกพร่องทางการได้ยิน

การให้การศึกษาแก่เด็กที่บกพร่องทางการได้ยินเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นมากเพื่อช่วยให้เด็กเหล่านั้นได้พัฒนาตนเองตามกำลังความสามารถของตน การศึกษายังเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้เขาได้พัฒนาตนเองให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข มีอาชีพที่จะช่วยให้มีรายได้เลี้ยงตัวเอง ดังนั้นการศึกษาพิเศษจึงเห็นความสำคัญที่จะต้องจัดการเรียนการสอนให้แก่เด็กบกพร่องทางการได้ยิน หลายวิธีดังนี้ คือ

1. วิธีสอนแบบใช้ภาษามือแทนสัญลักษณ์ และแทนความหมายของภาษา (Manual Method)

2. วิธีสอนพูดด้วยภาษาพูด (Oral Method)


เปรียบเทียบข้อเสียในการสอนทั้งสองวิธีี

ข้อเสียของการสอนด้วยภาษามือ
ข้อเสียของการสอนภาษาพูด

- มีคนจำนวนน้อยที่เข้าใจภาษามือ ทำให้เด็กหูหนวกติดต่อกับเพื่อนหูดีไม่ได้ถ้าใช้ภาษามือ

- ทำให้ไม่เข้าใจภาษาพูดของคนปกต

ิ- ภาษามือเป็นภาษาโดด ไม่มีระเบียบของถ้อยคำ เวลานำมาแต่งประโยคมักจะเขียนกลับหน้ากลับหลัง

- ไม่มีวิธีใดที่เรียนพูดได้ดีเท่าภาษาพูด ทำให้เข้าใจภาษาพูดของคนปกติได้
- ใช้เวลามาก และสอนยาก

- เด็กหูหนวกพูดฟังยาก ไม่ชัดเจน พูดผิดๆ ถูกๆ

- การสอนพูดต้องจัดเด็กเรียนจำนวนน้อย 5-8 คน ทำให้เสียค่าใช้จ่ายมาก

- การสื่อความหมายยังต้องใช้ภาษามือ




ไม่ว่าจะสอนโดยวิธีใดหรือจัดการศึกษาระบบใดก็ตาม ความสมบูรณ์และความถูกต้องไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่หากอยู่ที่การเลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมกับความพิการของเด็กแต่ละประเภทว่าเด็กหูหนวกขนาดไหน ควรใช้วิธีสอนประเภทใด จึงจะให้ประโยชน์แก่เด็กมากที่สุด ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทฤษฎีการให้การศึกษาที่ดีนั้นจะต้องยึดหลักว่า "จัดระบบให้เหมาะสมกับเด็ก ไม่ใช่ยัดเยียดหรือบังคับเด็กให้เรียนตามระบบที่จัดให้เท่านั้น"



ประเภทวิธีการสอน 5 วิธี

1. วิธีสอนพูด (Oral Method) วิธีการสอนพูดให้แก่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนี้ยึดหลักที่ว่าให้ผู้สอนพูดกับเด็กให้มากที่สุดให้เด็กเห็นความสำคัญของการพูด ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการพูดได้แก่ การดู คือ โดยการอ่านจากริมฝีปากของผู้พูดด้วยเป็นสิ่งสำคัญ

สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องเตรียมในการสอน

1. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องขยายเสียงทุกวัน เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องขยายเสียงทำงานปกติ

2. ตรวจสอบเครื่องช่วยฟังส่วนบุคคลของเด็กทุกคนตลอดเวลาการสอน

3. ครูประจำชั้นควรมีความรู้เกี่ยวกับระดับการได้ยินของเด็กทุกคนที่ตนทำการสอน

4. ให้พูดเสียงดังพอเหมาะกับการได้ยินของเด็ก เช่น ครูควรใช้ไมโครโฟนให้ห่างจากปากครูในระยะ 6-8 นิ้ว ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนของการรับฟังเสียงของครู

5. ครูต้องระวังและแนะนำให้เด็กพูดลงในไมโครโฟนของเด็กด้วย ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนเช่นกัน

6. ครูควรพูด และใช้จังหวะการพูดตามปกติ พูดเป็นวลี หรือประโยคไม่ควรเน้นเสียงหรือพูดช้าเกินไป

7. ครูไม่ควรปล่อยให้เด็กพูดผิด ๆ โดยไม่แก้ไข ทั้งนี้เพื่อประสานงานกับครูสอนพูดโดยเฉพาะ

8. เมื่อเด็กเข้าใจความหมายของภาษาพูดแล้ว ควรฝึกให้เด็กพูดตามครู หัดพูดตามฐานที่เกิดของเสียง 6 ฐาน เริ่มจากง่ายไปหายาก ตามลำดับ จนกว่าจะพูดได้ชัด

9. การสอนพูดเริ่มสอนที่ละคำ สอนคำใหม่คู่กับคำเก่าที่เพิ่งเรียนไปและให้จำแนกเสียงของพยัญชนะ หรือสระ



2. วิธีสอนแบบรวม (Combined Method)

หมายถึงวิธีสอนที่ใช้การพูด ภาษามือ การอ่านริมฝีปาก การใช้เครื่องช่วยฟัง การเขียน กระดานดำประกอบกันไปในขณะที่สอน มีสิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะดังนี้ คือ

2.1 ภาษามือ และการสะกดด้วยนิ้วมือต้องแม่นยำพร้อมกับพูดให้นักเรียนได้อ่านปากเรียนแบบกทุกครั้ง ครูทุกคนต้องมีภาษามือแบบเดียวกันโดยตลอด เพื่อป้องกันการไขว้เขว งดการเดาสุ่มโดยเด็ดขาด

2.2 ขณะที่พูดควรให้นักเรียนเห็นปากผู้พูดโดยชัดเจนให้สายตาของนักเรียนอยู่ระดับปากผู้พูดและไม่เบือนหน้าหนีขณะพูด

2.3 มีแสงสว่างพอให้มองเห็นมือและปากได้ชัดเจน

2.4 เวลาพูดต้องไม่ตะโกนหรือเน้นพยางค์

2.5 คำที่มีความหมายเหมือนกันแต่เขียนและอ่านต่างกันไปเช่น พ่อ แม่ บิดา มิตร ต้องให้เข้าใจความหมาย

2.6 ภาษามือ การสะกดด้วยนิ้วมือ และการสอนอ่านริมฝีปากต้องให้เห็น ได้ดู ได้จับต้อง



3. การใช้วิธีสอนต่างวิธีพร้อมกันสลับกันไป (Simultaneous Method)

คือการใช้การพูด มือสะกด หรือภาษามือ การใช้เครื่องช่วยฟัง และการเขียนกระดานดำ การสะกดด้วยนิ้วมือเป็นการสื่อความหมายทางภาษาอย่างหนึ่ง โดยมีการกำหนดตำแหน่งของนิ้วมือแทนตัวอักษะที่มีอยู่ในภาษาเขียนนามธรรม ทั้งสระพยัญชนะ และวรรณยุกต์ เช่น

การสะกดด้วยนิ้วมือช่วยให้คนหูหนวกมีภาษากว้างขวางขึ้น เพราะคำต่างๆ ที่มีในภาษามือของคำต่างๆ ในภาษาให้อย่างนับไม่ถ้วน โดยเฉพาะการเรียกชื่อคนและสิ่งของ

แบบสะกดนิ้วมือของคนหูหนวกในประเทศไทย




ภาษามือ (Manual Language หรือ Sign Language)



ภาษามือ คือ ภาษาสำหรับคนหูหนวก ใช้มือเป็นการสื่อความหมาย และถ่ายทอดอารมณ์แทนการพูด โดยแสดงสีหน้า และกิริยาท่าทางประกอบ คนหูหนวกส่วนใหญ่ใช้ภาษามือสื่อความหมายแทนคำพูด เป็นภาษาที่ได้ตกลง และรับรองว่าเป็นภาษามาตรฐานสำหรับคนหูหนวกได้ ตัวอย่างเช่น






การสะกดด้วยนิ้วมือต้องทำให้เรียบร้อยน่ามอง ทำให้ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุดไม่ทำเร็วจนเกินไป การสะกดด้วยนิ้วมือต้องคล่องและแม่นยำที่สุด

ภาษามือจะช่วยขยายความเข้าใจในการสอนคำที่ออกเสียงตามวรรณยุกต์ เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ ถ้าใช้ภามือกำกับแล้ว จะช่วยให้การทำความเข้าใจได้รวดเร็วขึ้น เพราะถ้าอ่านจากริมฝีปากอย่างเดียวจะเข้าใจได้ช้า ภาษามือทำได้ไม่ยาก แต่จะต้องมีแบบที่ยอมรับถ้าทำท่านั้นๆ จะต้องมีความหมายที่เข้าใจตรงกัน การทำภาษามือต้องทำให้เป็นธรรมชาติ แสดงอาการปกติเหมือนพูดธรรมดา ต้องมีจังหวะมีการเว้นระยะวรรคตอนไม่ทำเร็วหรือช้าเกินไป และต้องให้ชัดเจน

4. วิธีสอนแบบรวมหลายวิธี (Combined System) คือการสอนที่ใช้การสอนพูด การใช้เครื่องช่วยฟัง ภาษามือ การสะกดด้วยนิ้วมือ และการเขียนกระดานดำ โดยใช้การสอนพูดสลับกับการสอนด้วยภาษามือ สะกดด้วยนิ้วมือ และการเขียนกระดานดำ

5. วิธีสอนแบบระบบรวม (Total Communication)คือการสอน

- ฝึกการฟัง (Auditory Training)

- ฝึกการอ่านคำพูด (Speech Reading)

- ฝึกการเขียน (Writing)

- ภาษามือ (Signs Language)

- การสะกดนิ้วมือ (Finger Spelling)

- การสังเกตท่าทาง (Gestures)



วิธีสอนนี้เป็นวิธีสอนโดยการรวมเอาวิธีการติดต่อสื่อความหมายทุกประเภทเข้ามารวมไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งนับว่าเป็นวิธีสอนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในปัจจุบันที่จะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างคนหูหนวกกับบุคคลอื่นในสังคมได้เป็นอย่างดี

การสอนเด็กหูหนวกไม่ใช่สอนได้ง่าย ครูจำเป็นต้องเข้าใจจิตใจ และอารมณ์เด็กประเภทนี้ให้ได้ว่า เป็นเด็กที่มีอารมณ์ไม่มั่นคง และการปรับตัวไม่ดีเหมือนเด็กทั่วไป